ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
  • นามโรงเรียน เรียกว่า “โรงเรียนบ้านนาสาร”  โดยหนังสือกระทรวงศึกษาธิการ   ที่ 11469/2494
  • ที่ตั้งโรงเรียน ในตอนแรกยังหาที่ตั้งโรงเรียนได้ไม่แน่นอน แต่เพื่อให้ทันตามเวลากำหนดในปีการศึกษา 2494  คณะกรรมการอำเภอบ้านนาสาร พร้อมด้วยพระมหาบุญมี  เจ้าอาวาสวัดอภัยเขตตาราม  ตลอดจนชาวบ้านพร้อมใจกันให้ใช้หอฉันของวัดอภัยเขตตารามเป็นสถานที่ให้การศึกษา แก่นักเรียนชั่วคราวและได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นเวลา 2 ปี 1 เดือน  21วัน
  • เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2494 โดยอาศัยหอฉันของวัดอภัยเขตตารามเป็นอาคารเรียน มีนายแผ้ว พรหมสวัสดิ์ เป็นครูใหญ่  นางสาวสมจิต  เดชะ เป็นครูประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ตามหนังสือแผนกศึกษาธิการ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ 1116/2494 ลงวันที่  7 มิถุนายน  พ.ศ. 2494  ในวันพิธีเปิด  นายเจริญ  วิทยศักดิ์   ศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี   เป็นประธานการเปิดภาคเรียน และนายนอง ปาณชู  นายอำเภอบ้านนาสาร กล่าวในนามข้าราชการพ่อค้า ประชาชนอำเภอบ้านนาสาร หลังจากนั้น นายแผ้ว  พรหมสวัสดิ์  เริ่มทำการสอนเป็นปฐมฤกษ์  เรื่อง “หลักเกณฑ์ในการเล่าเรียน”
  • การคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในปีแรกนั้น ดำเนินการตามระเบียบของกรมสามัญศึกษา ว่าด้วยการรับนักเรียน พุทธศักราช  2487  โดยคำสั่งของนายนอง ปาณชู  นายอำเภอบ้านนาสาร  ได้จัดการไปตามข้อเสนอของนายวิญญ์  ฉวาง  ศึกษาธิการอำเภอ บ้านนาสาร โดยมีนายแผ้ว พรหมสวัสดิ์    เป็นประธานกรรมการ  มีนักเรียนสมัครเข้าเรียน 71คน      รับไว้ได้เพียง  40  คน  เป็นนักเรียนชาย  28 คน นักเรียนหญิง  12  คน            
  • ที่ตั้งโรงเรียน   ปัจจุบันโรงเรียนบ้านนาสารตั้งอยู่ที่หมู่บ้านทุ่งคาเกรียนในเขตเทศบาล  นาสาร   ด้านหน้าติดถนนเหมืองทวด ห่างจากสถานีรถไฟนาสาร  ประมาณ   1  กิโลเมตร
  • การจัดตั้งอาคารเรียนถาวร   การจัดตั้งอาคารเรียนถาวรทางการต้องการที่ดินไม่น้อยกว่า    6 ไร่   แต่ด้วยความสามารถของ นายวิญญ์   ฉวาง  ศึกษาธิการอำเภอบ้านนาสารและคณะกรรมการอำเภอบ้านนาสาร  ช่วยกันจัดหาที่ดินได้  13 ไร่   3 งาน  30  ตารางวา  อาคารเรียนถาวรหลังแรกเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว  ใต้ถุนสูง 5  ห้องเรียน   ทำพิธีวางศิลาฤกษ์  เมื่อวันที่ 21  ตุลาคม  พ.ศ. 2495  เวลา  10.40 น. โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นประธานฝ่ายฆราวาส  และพระครูอภัยเขตตาราม  เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  ในการก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรกนี้  ได้รับเงินงบประมาณการสร้างเพียง 180,000 บาท   สร้างตามแบบแปลนแผนผังโรงเรียนประจำอำเภอ  แบบ 2 (2495)  ซึ่งเงินงบประมาณจำนวนนี้ไม่สามารถจัดสร้างได้   แต่ด้วยการช่วยเหลือของนายวิญญ์  ฉวาง   ศึกษาธิการอำเภอบ้านนาสาร  และนายเที่ยว  เวียงวีระ กำนันตำบลทุ่งเตา ช่วยจัดหาไม้มาได้ในราคาต่ำ การก่อสร้างจึงสำเร็จ  ซึ่งถ้าถือเป็นราคาตามท้องตลาด อาคารเรียนหลังแรกจะต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า  270,000  บาท  อาคารเรียนหลังแรกนี้ใช้เป็นสถานที่เรียน เมื่อวันที่  3 กรกฎาคม พ.ศ.2496  เนื่องจากสถานที่ดินเดิมเป็นป่าไผ่และจอมปลวก  จึงต้องใช้แรงครูและนักเรียนช่วยกันถากถางและปรับให้ราบ  แต่ไม่เรียบร้อย คณะผู้ปกครองนักเรียนโดยการนำของนายสันต์ สกุลแต่ง เสมียนใหญ่บริษัทไซมิสตีนซินติเกด  ห้วยมุด  จัดหาเงินและจ้างคนขุดปราบที่ใช้เป็นสนามของโรงเรียนได้ในปี พ.ศ. 2500
  • สภาพของโรงเรียนบ้านนาสาร
    • ที่ดินของโรงเรียน

พ.ศ.   2495   โรงเรียนได้ที่ดิน 13 ไร่  3  งาน  30 ตารางวา

พ.ศ.   2515   กรมสามัญศึกษา  ซื้อที่ดินของ  นายแจว  ประไพรวรรณ  จำนวน 7 ไร่  ด้วยเงินงบประมาณ 350,000 บาท  เมื่อวันที่   29   กันยายน  พ.ศ. 2515  ที่ดินแปลงนี้ติดกับที่ดินเดิมทางทิศตะวันตก

พ.ศ.   2516  ประชาชนโดยการนำของ นายชัช   อุตตมางกูร   จัดซื้อที่ดินของ  นายสุม่า   ระยะปูโล  จำนวน 8  ไร่   ด้วยราคา   35,000  บาท   เมื่อวันที่ 11  มิถุนายน   พ.ศ.2516  เพื่อให้เป็นหมู่บ้านพักครู ที่ดินแปลงนี้อยู่ห่างจากโรงเรียนประมาณ 2  กิโลเมตร  ในเส้นทางนาสาร-บ้านดอน  (รวมที่ดินของโรงเรียนบ้านนาสารทั้งสิ้น 28 ไร่   3  งาน  30  ตารางวา)

  •   อาคารเรียนและอาคารประกอบของโรงเรียน

พ.ศ.   2495   สร้างอาคารเรียนหลังแรกเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูงจำนวน 3  ห้องเรียน ด้วยเงินงบประมาณ  180,000  บาท   และโรงเรียนได้จัดหาเงินสร้างเพิ่มเติมอาคารชั้นล่างจนเต็ม 10  ห้องเรียน สำเร็จในปี 2509  ขนาดของอาคารเรียนหลังนี้  41x11  เมตร

พ.ศ.   2509   สร้างอาคารอุตสาหกรรมศิลป์ ขนาด 10x24 เมตร ด้วยเงินงบประมาณ 90,000 บาท

                          พ.ศ.   2510   สร้างบ้านพักครู 1 หลัง  ด้วยเงินงบประมาณ 50,000   บาท

                          พ.ศ.   2512   สร้างบ้านพักครู 1 หลัง   ด้วยเงินงบประมาณ   50,000  บาท

พ.ศ.   2513   สร้างอาคารเรียนไม้สองชั้น ขนาด  31.5x10 เมตร จำนวน 6 ห้องเรียน ด้วยเงินงบประมาณ 360,000  บาท

สร้างโรงอาหาร-หอประชุม ขนาด 12x32 เมตร ด้วยเงินงบประมาณ 200,000 บาท

พ.ศ.   2513   สร้างอาคารเรียนไม้สองชั้น ขนาด  31.5x10 เมตร จำนวน 6 ห้องเรียน ด้วยเงินงบประมาณ 360,000  บาท

สร้างโรงอาหาร-หอประชุม ขนาด 12x32 เมตร ด้วยเงินงบประมาณ 200,000 บาท
สร้างอาคารชีวเกษตร ขนาด 9x24 เมตร ด้วยเงินงบประมาณ 170,000 บาท

พ.ศ.   2514  สร้างอาคารคหกรรมศิลป์ ขนาด 10x10.5 เมตร ด้วยเงินงบประมาณ  70,000  บาท
สร้างบ้านพักครู  1 หลัง  ด้วยเงินงบประมาณ  50,000  บาท
สร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม 1 หลัง ขนาด 4 ที่นั่ง  ด้วยเงินงบประมาณ  30,000  บาท

พ.ศ.   2515   สร้างอาคารเรียนแบบ 216  ขนาด 27x10  เมตร จำนวน 4  ห้องเรียน  ด้วยเงินงบประมาณ 199,000  บาท
สร้างบ้านพักครู จำนวน 3  หลัง  ด้วยเงินงบประมาณ  150,000  บาท

 

พ.ศ.   2516  สร้างบ้านพักครู  1  หลัง  และบ้านพักภารโรง 1  หลัง  ด้วยเงินงบประมาณ  80,000   บาท

สร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม  จำนวน 2  หลัง   ขนาด 8  ที่นั่ง ด้วยเงินงบประมาณ  60,000  บาท

พ.ศ.   2 517  สร้างบ้านพักภารโรง  จำนวน 2 หลัง ด้วยเงินงบประมาณ 60,000 บาท ที่หมู่บ้านนาเตรียะ

สร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม จำนวน  1  หลัง  ขนาด 4  ที่นั่ง  ด้วยเงินงบประมาณ  30,000  บาท

พ.ศ.   2518    สร้างบ้านพักครู จำนวน  1 หลัง  ด้วยเงินงบประมาณ  80,000บาท ที่หมู่บ้านนาเตรียะ

สร้างห้องน้ำ-ห้องจำนวน1หลังขนาด 4 ที่นั่ง ด้วยเงินงบประมาณ 40,000  บาท

พ.ศ. 2519   สร้างบ้านพักครู จำนวน 2  หลัง  บ้านพักภารโรง 1 หลัง  ด้วยเงินงบประมาณ 200,000  บาท   

 สร้างอาคารอุตสาหกรรมศิลป์  1 หลัง  ขนาด  10x28 เมตร  ด้วยเงินงบประมาณ 280,000  บาท

สร้างห้องน้ำ–ห้องส้วม 1 หลัง ขนาด 8 ที่นั่ง ด้วยเงินงบประมาณ 40,000  บาท

พ.ศ. 2520   สร้างอาคาร 4 ชั้น แบบ 424 ก  ขนาด 31.5x9 เมตร  จำนวน 12 ห้องเรียนด้วยเงินงบประมาณ ปี 2519 จำนวน  2,000,000 บาท

สร้างอาคารหอประชุมขนาดใหญ่  ขนาด 21 x 42  เมตร  ด้วยเงินงบประมาณ  900,000  บาท

                       สร้างบ้านพักครู จำนวน 1  หลัง  ด้วยเงินงบประมาณ  70,000 บาท

พ.ศ. 2521    ได้รับงบประมาณ 50,000  บาท ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว แบบ  004 จำนวน  5  ห้องเรียน

                       ได้รับงบประมาณ 80,000 บาท เป็นค่าสร้างบ้านพักครูจำนวน 1 หลัง

พ.ศ. 2522    ได้รับงบประมาณ  2,500,000  บาท  เป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนแบบ  424 ก (ต่อเติม)  จำนวน 12 ห้องเรียน (ขนาด 9x31.5 เมตร)

   ได้รับงบประมาณ 80,000 เป็นค่าสร้างบ้านพักครูจำนวน 1 หลัง  ขนาด  6Í8 เมตร                 

พ.ศ. 2525    ได้รับงบประมาณ6,200,000 บาท เป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 418 ค

พ.ศ. 2530   ได้รับงบประมาณสร้างอาคารฝึกงาน แบบ  204/27 จำนวน  1 หลัง   ด้วยเงินงบประมาณ  2,826,000  บาท

ได้รับงบประมาณสร้างห้องน้ำ–ห้องส้วม แบบมาตรฐาน 6 ที่   จำนวน 6  หลัง   เป็นเงิน  996,000  บาท 

พ.ศ.  2535  ได้รับงบประมาณสร้างอาคารฝึกงาน แบบ 204/27 จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน  2,900,000  บาท

พ.ศ. 2537   ได้รับงบประมาณ สร้างอาคารหอประชุม-โรงอาหารแบบ 101 ล  จำนวน 1 หลังเป็น เงิน  6,153,000  บาท

  •